เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของผู้ใช้ (UX) หากคุณยังคงเรียกดูเว็บไซต์ต่อ แสดงว่าคุณยินยอมให้ใช้คุกกี้บนเว็บไซต์นี้ โปรดดูนโยบายคุกกี้สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติม

ค้นพบโทจิงิ ประวัติอันยาวนาน

ประเทศญี่ปุ่นเต็มไปด้วยสิ่งก่อสร้างทางประวัติศาสตร์มากมาย รวมทั้งเมืองหลวงเก่าอย่างเกียวโต และคามาคุระที่วัฒนธรรมของซามูไรเคยรุ่งเรือง และหนึ่งในนั้นก็คือมรดกโลกที่อยู่ในโทจิงิ และในจำนวนนั้นศาลเจ้านิกโกโทโชกู (Nikko Toshogu Shrine) ก็ได้รับความนิยมเนื่องจากยังคงรูปลักษณ์ที่หรูหราไว้ได้แม้จะผ่านไปกว่า 400 ปีแล้วนับตั้งแต่ก่อสร้าง และเพื่อจะสำรวจความน่าดึงดูดใจของศาลเจ้าโทโชกูในฐานะสิ่งก่อสร้าง เราจึงได้ตระเวนชมไปกับช่างไม้ที่สร้างวัดและศาลเจ้า (มิยะไดคุ) ซึ่งเป็นผู้ซ่อมแซมอาคารเหล่านี้

ตระเวนเที่ยวชมศาลเจ้านิกโกโทโชกูซึ่งมีประวัติยาวนานมากกว่า 400 ปีไปกับช่างไม้ที่สร้างวัดและศาลเจ้า

“ช่างไม้ที่สร้างวัดและศาลเจ้า” มืออาชีพที่เชื่อมโยงวัดและศาลเจ้าที่มีประวัติยาวนานสู่อนาคต

ศาลเจ้าโทโชกู เป็นศาลเจ้าที่ประดิษฐานโชกุนโทคุกาวะ อิเอยาสุ (ปี 1543-1616) ผู้ที่ทำให้ยุคแห่งสงครามที่กินเวลายาวนานกว่า 100 ปีสิ้นสุดลง และหลังจากที่สร้างศาลเจ้านิกโกโทโชกูในปี 1617 ก็ได้มีการสร้างขึ้นใหม่ครั้งใหญ่จนมีลักษณะอย่างที่เห็นในปัจจุบัน

มีช่างไม้ที่สร้างวัดและศาลเจ้าในมืออาชีพที่จะทำการบำรุงรักษาและซ่อมแซมสิ่งก่อสร้างทางประวัติศาสตร์เหล่านี้ในแต่ละวัน ซึ่งจะทำการซ่อมแซมอาคารที่กำหนดให้เป็นสมบัติทางวัฒนธรรม เช่น ศาลเจ้าและวัดเป็นหลัก แต่ในนั้นก็มีช่างไม้ที่ทำงานกับสถาปัตยกรรมศาลเจ้าและวัดที่เป็นการก่อสร้างแบบใหม่ด้วยเช่นกัน

คุณฟุคุดะที่มากับเราในครั้งนี้มีประสบการณ์ 20 ปีในฐานะช่างไม้ที่สร้างวัดและศาลเจ้า ซึ่งเขาได้รับผิดชอบซ่อมแซมศาลเจ้า 2 แห่งและวัด 1 แห่งในนิกโก (ศาลเจ้าฟุทาระซัง ศาลเจ้าโทโชกู และวัดรินโนจิ)

ในสถาปัตยกรรมแบบดั้งเดิม เช่น ศาลเจ้าและวัด และชิ้นส่วนองค์ประกอบที่ประกอบขึ้นเป็นอาคาร เช่น เสาและคาน จะมีขนาดใหญ่เมื่อเทียบกับบ้านเรือนทั่วไป ดังนั้นจึงมักไม่สามารถรองรับด้วยเครื่องมือสำหรับการก่อสร้างทั่วไปได้ และไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะดำเนินการแปรรูปวัสดุจากการทำงานด้วยมือ ดังนั้นช่างไม้ที่สร้างวัดและศาลเจ้าซึ่งซ่อมแซมสถาปัตยกรรมแบบดั้งเดิมด้วยทักษะเฉพาะทางจึงมีค่ามาก

ในกรณีของศาลเจ้าโทโชกู งานหลักคือการทาสีซึ่งจะทาสีแก้ไขส่วนที่สีลอก กล่าวกันว่าการทาสีใหม่ทั้งหมดคือจะทำทุกๆ 50-60 ปี อย่างไรก็ตาม เพราะในอาคารเองจะมีจุดที่โดนลมและฝนจึงทำให้ชิ้นส่วนองค์ประกอบต่างๆ เสียหายรุนแรง จึงมีการซ่อมแซมบางส่วนทุกๆ 20-30 ปี และมีการดำเนินการซ่อมแซมรากฐานขนาดใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับการรื้อถอนประมาณ 1 ครั้งตั้งแต่ 100-200 ปี

ฟุคุดะ : การก่อสร้างทรัพย์สินทางวัฒนธรรมจะเริ่มต้นด้วยการตรวจสอบจุดที่จำเป็นสำหรับการซ่อมแซมครับ จากผลการตรวจสอบถ้ามีส่วนใดเสียหายก็จะทำการซ่อม แต่ในเวลานั้นก็ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ว่าจะเปลี่ยนชิ้นส่วนองค์ประกอบทั้งหมดหรือรองรับด้วยการต่อเติมบางส่วนครับ

การคงเทคนิคและวัสดุในอดีตเอาไว้จะนำไปสู่การปกป้องคุณค่าของทรัพย์สินทางวัฒนธรรม และสิ่งสำคัญก็คือต้องคงชิ้นส่วนองค์ประกอบเดิมไว้ให้มากที่สุดครับ

ต้นไม้จะได้รับความเสียหายได้ง่ายในนิกโกที่ชื้นตลอดทั้งปี ถ้าสถาปัตยกรรมไม้เกิดผุขึ้น อาคารจะเอียงได้ แต่ถ้าเราทำการตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอและซ่อมแซมส่วนที่เสียหายอย่างละเอียด อายุการใช้งานก็จะยาวนานมากขึ้นครับ

คุณฟุคุดะซึ่งเป็นช่างไม้ที่สร้างวัดและศาลเจ้า

คุณฟุคุดะนำแผ่นพื้นไม้ของจุดสำหรับกราบไหว้ในศาลเจ้าโทโชกูที่ผุมานานหลายปีโชว์ให้เราดู การเปลี่ยนแผ่นพื้นไม้ของจุดสำหรับกราบไหว้ที่ดำเนินการครั้งสุดท้ายถูกบันทึกไว้ว่าทำในปี 1688-1690 ดังนั้นอย่างน้อยนี่จะเป็นวัสดุไม้ที่ใช้มาตั้งแต่ช่วงเวลานั้น

ฟุคุดะ : ในการจะทำแผ่นพื้นไม้ขนาดใหญ่เช่นนี้จำเป็นต้องใช้ไม้ที่เติบโตมาหลายร้อยปีจึงเป็นเรื่องยากที่จะใช้ในสถาปัตยกรรมทั่วไปครับ นอกจากนี้ ไม้ยังมีความชื้นอยู่มาก จึงไม่สามารถใช้งานได้ทันทีหลังการตัด และเป็นงานขนาดใหญ่ที่ใช้ทั้งแรงและค่าใช้จ่ายเพียงเพื่อจะเตรียมวัสดุครับ

แผ่นพื้นไม้ของจุดสำหรับกราบไหว้ที่ผุแล้ว

ฟุคุดะ : สาเหตุหลักที่อาคารของศาลเจ้าโทโชกูมีอายุการใช้งานของอาคารยืนยาวก็เป็นเพราะใช้วัสดุอย่างดีครับ ตัวอย่างเช่นความละเอียดของวงปีของวัสดุไม้ และมีการใช้วัสดุที่มีความหนาแน่นสูง วัสดุไม้จนถึงตอนนี้หายากครับ แม้ว่าเราจะมองหาในตอนนี้ และสิ่งที่ยอดเยี่ยมเกี่ยวกับศาลเจ้าโทโชกูก็คือ เราใช้วัสดุไม้อย่างดีและละเอียดขนาดนี้ไปจนกระทั่งชิ้นส่วนองค์ประกอบของพื้น อย่างที่คิดไว้นี่เป็นอาคารที่สักการะโชกุนอิเอยาสุ จึงเป็นการบอกเล่าได้ว่าที่นี่ถูกสร้างขึ้นโดยมีการใช้ค่าใช้จ่ายเพื่อรวบรวมเอาวัสดุอย่างดีไว้ครับ

เมื่อดูตามขวางจะเห็นว่าเส้นวงปีมีความละเอียดชิดติดกัน

เปิดเผยประวัติยาวนานของศาลเจ้าโทโชกูด้วยมุมมองทางสถาปัตยกรรม

จากตรงนี้ คุณฟุคุดะได้แนะนำกับเราถึงเสน่ห์ทางสถาปัตยกรรมของศาลเจ้าโทโชกู ซึ่งไม่สามารถเข้าใจได้เพียงแค่มองดูเท่านั้น ประการแรกเกี่ยวกับเจดีย์ 5 ชั้น หรือเจดีย์ที่มี 5 หลังคาซึ่งพบได้ในวัดและศาลเจ้าหลายแห่ง

ฟุคุดะ : เจดีย์ 5 ชั้นอันเป็นสถานที่ขึ้นชื่อนี้เป็นที่รู้จักกันได้แก่ เจดีย์ของวัดโฮริวจิในนาระ ที่เป็นอาคารไม้ที่เก่าแก่ที่สุดในโลกที่ยังเหลืออยู่ในปัจจุบันครับ เจดีย์ถูกสร้างขึ้นในยุคปี 600 และเป็นรูปทรงสามเหลี่ยมโดยเจดีย์จะกว้างขึ้นในทิศทางลงล่างครับ

ในทางกลับกัน เจดีย์ 5 ชั้นของศาลเจ้าโทโชกูมีความกว้างเท่ากันตั้งแต่ด้านบนลงล่างของเจดีย์ ซึ่งนี่คือลักษณะเด่นของเจดีย์ 5 ชั้นที่ถูกสร้างในสมัยเอโดะ (ปี 1600-1868) เมื่อเวลาผ่านไปก็เปลี่ยนแปลงเป็นรูปร่างยาวและแคบ นอกจากนี้ที่นิกโกยังมีหิมะตกเยอะมาก จึงมีความคิดที่จะป้องกันไม่ให้หิมะทับถมที่อาคาร

ลักษณะเด่นอีกประการหนึ่งคือ “โครงสร้างแบบแขวน (แบบลอยตัว)” ซึ่งเสากลางที่อยู่ตรงกลางของเจดีย์จะลอยขึ้นจากพื้นดิน ซึ่งก็มีทฤษฎีว่าเป็นการทำเพื่อกระจายการสั่นและปรับปรุงการต้านทานแผ่นดินไหวเช่นกัน แต่ในความเป็นจริงก็ยังไม่ทราบชัดเจนครับ แต่ดูเหมือนว่าจะไม่ได้แพร่หลายไปทั่วญี่ปุ่นมากนัก และยังเป็นโครงสร้างที่หาได้ยากที่มีเพียง 3-4 แห่งทั่วประเทศญี่ปุ่นครับ

เจดีย์ 5 ชั้นในศาลเจ้าโทโชกู

“ประตูโยเมมง (Yomeimon Gate)” อันงดงามซึ่งมีงานแกะสลักและการประดับประดาอย่างละเอียดลออและเต็มไปด้วยแผ่นทองคำเปลวนี้ ถูกสร้างขึ้นใหม่ในยุคของอิเอมิตสึ หลานของอิเอยาสุ

ฟุคุดะ : เดิมทีหลังคาถูกสร้างขึ้นโดยการเอาเปลือกไม้ของต้นสนฮิโนกิมาซ้อนกัน แต่ถูกเปลี่ยนเป็นชิ้นส่วนองค์ประกอบที่ใช้แผ่นทองแดงในสมัยของอิเอมิตสึครับ หลังคาต้องโดนทั้งฝน ลม และหิมะ ดังนั้นวัสดุจากพืชจึงเสียหายได้ง่าย หลังคาไม่สามารถซ่อมแซมได้บ่อยๆ จึงมีความตั้งใจที่จะทำให้หลังคามีความทนทานมากที่สุดครับ

ประตูโยเมมง ใช้ชิ้นส่วนองค์ประกอบที่เป็นแผ่นทองแดงสำหรับหลังคา

ฟุคุดะ : เมื่อพูดถึงประตูโยเมมง “เสากลับด้านที่เป็นเครื่องรางป้องกันภัย” ก็มีชื่อเสียงครับ ลวดลายจะกลับด้านที่เสาเพียงต้นเดียวทางด้านซ้ายเมื่อเดินเข้าประตูไป ซึ่งอาคารมาจากแนวคิดโบราณที่ว่า “หลังเสร็จสมบูรณ์ก็มีแต่จะพังลง” และดูเหมือนว่ามีความหมายของเครื่องรางที่จงใจทำให้เสาอยู่ในลักษณะที่ไม่สมบูรณ์ครับ

ปกติแล้วลายจะถูกวาดและลงสี แต่เสาของประตูโยเมมงเป็นวิธีที่เรียกว่า “การแกะสลักลวดลายถักทอ” ซึ่งจะวาดลวดลายโดยการขุดไม้ ถ้าทำผิดพลาดก็จะไม่สามารถใช้เสาต้นนั้นได้ ดังนั้นจึงยากในการสร้างลวดลาย และเป็นวิธีการที่สามารถใช้ได้เฉพาะกับอาคารชั้นสูงเท่านั้น รวมทั้งอาคารที่มีลวดลายถักทอนี้จะมีอยู่ในพื้นที่ด้านในของศาลเจ้าโทโชกูจากประตูโยเมมงเท่านั้นครับ

ในบรรดาการแกะสลักลวดลายถักทอจะมีการใช้เม็ดสีที่ทำจากเปลือกหอยในส่วนที่ลงสีสีขาวที่เสา ฯลฯ

เสากลับด้านที่แกะสลักด้วยการแกะสลักลวดลายถักทอ

ให้ความสนใจกับงานแกะสลักจำนวนมากที่อยู่ตามที่ต่างๆ ในอาคารด้วยเช่นกัน

ที่นิกโกโทโชกู คุณสามารถชมงานแกะสลักได้ทุกแห่งทั่วอาคาร และหนึ่งในงานแกะสลักที่มีชื่อเสียงที่สุดคือรูปสลักลิงซึ่งกล่าวกันว่าเป็นการแสดงชีวิตของมนุษย์จาก 8 สถานการณ์ และว่ากันว่ารูปสลักลิงถูกสลักขึ้นที่ชินคิว (คอกม้าเทพ) เพื่อเชื่อมโยงกับม้าที่รับใช้เทพที่เรียกว่าชินเมะ (ม้าศักดิ์สิทธิ์) ซึ่งมาจากนิทานจีนในชื่อว่า “ลิงรักษาโรคของม้า”

ชินคิว (Shinkyu) ที่มีงานแกะสลักอยู่ด้านบนของบานประตู

ฟุคุดะ : สถานการณ์ทั้ง 8 จะเริ่มต้นตั้งแต่เกิด ดำเนินต่อไปจนออกไปมีอิสระ มีความรัก และแต่งงาน และในที่สุดตนเองก็กลายเป็นพ่อแม่และย้อนกลับไปที่สถานการณ์แรก และในจำนวนนั้นลิงทั้ง 3 ตัวที่กำลังปิดหู ปิดปาก และปิดตาตามลำดับก็มีชื่อเสียงเป็นพิเศษ ซึ่งเป็นการวาดถึงตอนเป็นเด็กและมีความหมายว่า “อย่าเห็น พูด หรือได้ยินสิ่งที่ไม่ดี”

งานแกะสลักลิง 3 ตัว

หนึ่งในสิ่งที่ไม่ควรพลาดชมคืองานแกะสลัก “ช้างในจินตนาการ” ที่อยู่ในคลังเก็บสมบัติ “คามิจินโกะ” จุดสำคัญคือมีลักษณะภายนอกแตกต่างจากช้างจริงเล็กน้อย เช่น วาดเหมือนกับแมมมอธ มีขนตามตัวยาว และยังไม่มีใครเคยเห็นช้างตัวจริงในยุคที่สร้างอาคารนี้ ดังนั้นน่าจะวาดขึ้นโดยจินตนาการจากในหนังสือ

ฟุคุดะ : ศาลเจ้าโทโชกูเป็นอาคารที่สักการะอิเอยาสุในฐานะเทพครับ จึงมีงานแกะสลักมากมายที่มีความหมายบนอาคาร ซึ่งช้างที่มีภาพลักษณ์ว่าใหญ่โตและแข็งแกร่งก็น่าจะเป็นหนึ่งในที่กล่าวมาครับ

ช้างในจินตนาการ

ถ้าพูดถึงจำนวนของงานแกะสลัก ประตูโยเมมงซึ่งมีรูปสลักทั้งเล็กและใหญ่เรียงรายมากกว่า 500 ชิ้นนี้ก็ควรค่าในการให้ความสนใจ และยังมีรูปสลักของคนที่เฉพาะประตูโยเมมงและประตูคาระภายในศาลเจ้าโทโชกูเช่นกัน

ฟคุดะ : ที่อยู่แถวล่างคือฤๅษี และแสดงถึง “คนที่ใกล้ชิดกับเทพ” และแถวเหนือขึ้นไปจะเห็นเด็กจากประเทศจีนกำลังเล่นสนุกอยู่ เล่ากันว่าแรงจูงใจที่ถ่ายทอดจากประเทศจีนมาสู่ญี่ปุ่นนี้ อาจเป็นการวาดถึงภาพลักษณ์แห่งสันติภาพจากลักษณะท่าทางของเด็กที่เล่นสนุกครับ

คน 2 คนที่อยู่ตรงกลางของภาพเป็นรูปสลักของฤๅษี

ฟุคุดะ : รูปสลักที่ติดตั้งอยู่เหมือนกับยื่นออกมานี้คือ “คาราจิชิ (สิงโต)” ซึ่งเป็นสัตว์พิเศษที่ปรากฏในตำนานเทพ ฯลฯ ผลงานที่ถูกวาดโดยการแกะสลักนี้ส่วนมากเป็นผลิตผลของจินตนาการดังกล่าว รวมทั้งมังกรด้วย และมีอยู่อีกมากมายในศาลเจ้าโทโชกู ผมจึงขอชวนให้คุณลองมาค้นหาดูให้ได้ครับ

ระหว่างที่ทำงานซ่อมแซม คุณฟุคุดะก็ได้เห็นถึงความสามารถทางเทคนิคของสถาปัตยกรรมไม้ในช่วงเวลานั้นอย่างใกล้ชิด และเล่าว่าสิ่งที่ทำให้ประหลาดใจก็คือความแม่นยำของเทคนิคในการประกอบวัสดุไม้โดยไม่มีการใช้อุปกรณ์โลหะ

ฟุคุดะ : ได้ประกอบกันเป็นรูปทรงที่แข็งแกร่งโดยใช้เทคนิคที่หลากหลายครับ ผมรู้สึกว่าต้องใช้ความอดทนอย่างมากในการที่จะเรียนรู้เทคนิคในระดับนั้นครับ

ประวัติของศาลเจ้านิกโกโทโชกูที่ยาวนานกว่า 400 ปีนี้ ยังถือเป็นประวัติอันยาวนานของช่างไม้ที่สร้างวัดและศาลเจ้าซึ่งสร้างและคงรักษาสถาปัตยกรรมไม้ที่ยอดเยี่ยมนี้เช่นกัน และเราหวังว่าคุณจะมาเยือนที่นี่จริงๆ และตั้งใจสังเกตดูไปถึงรายละเอียดของสถาปัตยกรรมเหล่านี้